
หลังจากที่ AMD พลิกประวัติศาสตร์โลก CPU 4 คอร์/8 เทรดตลาดกาลของ Intel ด้วยการออก AMD Ryzen สถาปัตยกรรมใหม่ Zen ด้วยการผลิต 7 nm และมีคอร์เริ่มต้นที่ 4 คอร์ 6 คอร์ และ 8 คอร์ โดยไม่มีกั๊ก ถึงช่วงแรงจะกระท่อนกระแท่นไปบ้าง สำหรับการกลับมาในรอบ หลายปี แต่ Gen ต่อมาก็แรงขึ้นเรื่อยๆ จน Intel ต้องสยบยอมให้ใน 4 ปีหลังสุดนี้เลยก็ว่าได้
และเมื่อ Intel ลงจากหลังเสือ ก็ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่างๆนาๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การที่มีเทคโนโลยีอยู่แล้ว แต่กั๊กไม่ยอมปล่อยออกมา การที่เดินตาม Roadmap กั๊กๆ ที่ให้คอร์ไม่เกิน 4 คอร์ มานานกว่า 7 ปี รวมถึงการกลับมาแต่ก็ไม่ทันคู่แข่งไปซะแล้ว ว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดจากแนวทางการบริหารของ CEO ที่เป็นแนวการตลาด
และเมื่อเปลี่ยน CEO คนใหม่เป็นที่เรียบร้อย คือ Pat Gelsinger ที่เป็นวิศวกรโดยตรง มีแนวทางชัดเจนว่าจะทำให้ Intel ที่มอดไหม้ กลับมาติดไฟอีกครั้ง และผลงานแรกสุดของ CEO คนใหม่นี้ก็คือ CPU Intel Gen 12 นั่นเอง!
สามารถฟังบทความแทนการอ่านได้แล้วนะ! คลุมดำ ข้อความที่ต้องการฟัง เว็บไซต์ก็จะช่วยอ่านให้อัตโนมัติ! หากต้องการหยุดอ่านให้กดปุ่ม Stop และอย่าลืมกด Allow ก่อนด้วย!
1. สถาปัตยกรรม Alder Lake กระบวนการผลิตแบบ 10Nm Super Fin ทุกแพลทฟอร์ม
ก่อนหน้านั้นเองที่ Intel มีปัญหาอย่างหนัก กับการเปลี่ยนกระบวนการการผลิตจาก 14nm+++ เป็น 10nm ที่ดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นใจ ให้ผลิตได้ช้าไปซะทุกเรื่อง
ทำให้ Gen 9 – 10 – 11 ในแพลทฟอร์มลงเครื่อง Desktop นั้นยังคงเป็น 14nm อยู่ มีเพียงโน๊ตบุคส์เท่านั้น ที่ได้การผลิตแบบ 10nm Super Fin ในรุ่น Gen 11 ซึ่งก็มีน้อยมากๆ ซ้ำร้าย ยังถูกลดคอร์ลง ให้น้อยกว่า AMD Ryzen ในโน๊ตบุคส์อีกตังหาก
แต่สำหรับ Intel Gen 12 นั้นต่างออกไป ทุกไลน์การผลิตจะเป็นการผลิตด้วยเทคโนโลยี 10nm Super Fin หมด เพราะฉะนั้น หากใครหลงเข้าใจผิดเกี่ยวกับ CPU รุ่นเก่าอย่าง Intel Core Gen 11 ให้รับรู้ไว้ทันทีครับ
-
ว่าในเครื่อง PC ยังคงเป็น 14nm+++ ที่ถูกตัดคอร์ลง และค่อนข้างสูสีกับ 10nm ที่มีคอร์เยอะกว่า ซึ่งไม่คุ้มทั้งคู่แล้ว
-
ส่วนในโน๊ตบุคส์นั้น จะมีทั้ง 10nm และ 14nm+++ ปะปนกันไป โดย 10nm จะเป็น Intel Gen 11 และ 14nm+++ จะเป็น Intel Gen 10
-
การสังเกตุระหว่าง Gen 11 กับ Gen 10 ง่ายนิดเดียว Gen 11 จะได้รหัส 11 เช่น i7-11700k ส่วน Gen 10 จะได้รหัส 10 เช่น i7-10700K เป็นต้น

Intel Gen 12 มาพร้อมกับสถาปัตยกรรม Alder lake คือการแบ่งการประมวลผล CPU เป็น 2 ชุด คือ
-
แบบคอร์ประสิทธิภาพ Performance Core (Core-P)
-
แบบคอร์ประหยัดพลังงาน Efficient Core (Core-E)
ซึ่งเท่ากับว่าโครงสร้างภายใน CPU อัดแน่นไปด้วยคอร์มากมายถึงสองชุด โดยคอร์ P จะเน้นการประมวลผลสูง (Intel เรียกว่า Coves) อัพเกรดความเร็วจาก Intel Core Gen 11 ( Tiger Lake) ราวๆ 19-25%
และคอร์ E จะยกเอาคอร์ที่ใช้ในเครื่องที่ต้องประหยัดพลังงาน เช่น Intel Atom (Intel เรียกว่า Monts) มาปรับแต่งให้มีทรานซิสเตอร์หนาแน่นจากการผลิต 10nm Super Fin
โดยความเจ๋งมันอยู่ที่ว่า Intel จะต้องทำการทำการบ้านมาอย่างดี ในการปรับสลับโหมดระหว่าง Core-P และ Core-E ให้ไหลลื่น และเหมาะสมต่อการใช้งาน รวมถึงการรวมคอร์ให้ทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ Intel จะใช้เทคโนโลยี Intel Thread Director ในการจัดการนั่นเอง
เปิดเน็ต ดู Youtube เล่นเว็บ = ใช้คอร์ E ที่เน้นประหยัดพลังงาน
เล่นเกมส์อย่างหนักหน่วง = ใช้ คอร์ P ที่เน้นการประมวลผลแบบ Single Thread
ใช้งานทั่วไปแบบเต็มประสิทธิภาพ หรือ ทำงานหนักหน่วงที่ต้องใช้การประมวลผลหลายคอร์ ตัดต่อวีดีโอ เรนเดอร์ 3D = ใช้ Performance Hybrid แบบ Multi Threads
2. Core เริ่มต้นจึงเยอะเป็นพิเศษ เริ่มต้นที่ i5 10C/16T (6+P,4+E)

ทุกคนคงคุ้นชิ่นกับ Intel Core i5 ที่มี 4 คอร์ มานานนับ 7 ปี และเพิ่งได้เห็นรุ่นหลังๆ ที่มี 6 คอร์
แต่บัดนี้ Intel Gen 12 ได้ปรับปรุงให้ Core i5 ได้มีคอร์เริ่มต้นมากสูงถึง 10คอร์/16เทรด แบ่งเป็น 6 คอร์ P และ 4 คอร์ E
โดย Intel ได้เปิดตัวออกมาคร่าวๆทั้งหมด 3 รุ่นท๊อปก่อนด้วยกัน ประกอบไปด้วย Intel Core i5 , i7 , i9 (i3 กับ Pentium หายไปแล้ว)
-
Intel Core i5-12600K มี 10Core/16Thread แบ่งเป็น 6+P,4+E
-
Intel Core i7-12700K มี 12Core/20Thread แบ่งเป็น 8+P,4+E
-
Intel Core i9-12900K มี 16Core/24Thread แบ่งเป็น 8+P,4+E
และการแบ่งรุ่นของ Intel ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก นั่นคือ
-
รหัส K – รุ่นที่ปลดล๊อกการ OC มีชิป GPU ในตัว และเป็นรุ่นท๊อป
-
รหัส KF – รุ่นที่ปลดล๊อกการ OC ไม่มีชิป GPU ในตัว
-
รหัส F – รุ่นที่ไม่สามารถ OC และไม่มีชิป GPU ในตัว
-
ไม่มีรหัสตัวอักษรต่อท้าย บ่งบอกถึง รุ่นที่ไม่สามารถ OC แต่มีชิป GPU ในตัว
3. Intel Gen 12 อนาคตของโน๊ตบุคส์ Hybrid แบบยุคใหม่

และในโน๊ตบุคส์นั้นแต่เดิมจะมีการแบ่งแยก CPU ออกจาก PC เป็นคนละรุ่นกัน โดยสเปคจะลดลงราวๆ 2 ใน 3 (50%) ของ PC เพื่อเซฟเรื่องของพลังงานและความร้อน โดยในโน๊ตบุคส์จะมีการแบ่งรุ่นของ CPU ด้วยรหัสต่างๆ และทำให้โน๊ตบุคส์นั้นถูกแยกประเภทขึ้นตามการใช้งานด้วย
-
รหัส H – รุ่นที่ใช้ในโน๊ตบุคส์ประสิทธิภาพสูง เช่น โน๊ตบุคส์รุ่นเกมมิ่ง ตัวเครื่องจะหนาพิเศษ แบตเตอรี่จะใช้งานได้ไม่นาน และระบบระบายความร้อนแบบจัดเต็ม
-
รหัส G7 หรือรหัส U – รุ่นที่ใช้ในโน๊ตบุคส์ประหยัดพลังงาน เช่น โน๊ตบุคส์แบบ เบาบาง (Thin light) หรือ Ultrabook ตัวเครื่องจะเบาบาง แบตเตอรี่อยู่ได้นาน แต่ประสิทธิภาพจะด้อยกว่าเกมมิ่งราวๆ เท่าตัว
-
ไม่มีรหัสตัวอักษรต่อท้าย รุ่นสำหรับโน๊ตบุคส์ธรรมดา ก้ำกึ่งจากโน๊ตบุคส์ทั้งสองรุ่นด้านบน จะครึ่งๆกลางๆ แบตกำลังดี ประสิทธิภาพพอใช้ มีลักษณะเครื่องไม่หนาไม่บางมาก และปัจจุบันไม่ค่อยพบเจอได้แล้ว
แต่ CPU Intel Gen 12 นี้มีคอนเซปที่ต่างออกไป เพราะเป็น CPU แบบ Hybrid ที่มีทั้งคอร์เล็กคอร์ใหญ่ ทำให้เพียงแค่จัดการคอร์ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจุดประสงค์
เช่น ต้องการใช้งานหนักหน่วง ก็ปรับให้ใช้พลังงานมากขึ้น ประสิทธิภาพสูงสุดด้วยคอร์ P แต่ถ้าหากต้องการใช้นอกสถานที่ และต้องการเซฟพลังงาน ให้ปรับไปใช้ คอร์ E และด้วยเทคโนโลยี 10nm ทำให้มีค่า TDP ที่ต่ำถึง 9w เรียกได้ว่าต่ำสุดๆ
ดังนั้น โน๊ตบุคส์ยุคใหม่นี้ จะต้องทำงานได้หลากหลายแบบไม่แบ่งแยกมากมาย ซึ่ง Intel เองก็อาจจะปรับให้ CPU รหัส H ใส่ได้กับโน๊ตบุคส์หลากหลายรุ่นมากขึ้น จากเดิมที่นิยมในเกมมิ่งอย่างเดียว
4. Hyperthreading รุ่นใหม่ มาพร้อมค่า IPC ดีขึ้น 19%

ค่า IPC ย่อมาจาก instruction per cycle คือการบ่งบอก CPU รุ่นนี้ สามารถทำงานตามคำสั่งได้ภายใน 1 รอบ วินาที (Cycle) ได้ดีแค่ไหน ซึ่ง IPC คือปัจจัยหลักอีกหนึ่งปัจจัย นอกจาก สเปค CPU อย่าง ค่าคล๊อก ค่าแคช หรือจำนวนคอร์
CPU จำเป็นต้องมี IPC ที่ดีด้วย เมื่อรวมกันกับสเปคแล้วจึงจะทำงานได้สูงสุด ซึ่งการทำงานแบบเทรดเดี่ยว นั้นใช้ค่า IPC สูงมาก ดังนั้น CPU ที่มีคอร์ เทรด มาก จึงมักประมวลผลแบบเดี่ยวได้ไม่สู้ CPU ที่มีคอร์ เทรดน้อย
การประมวลผลแบบ Single-Thread นิยมมากในโปรแกรมที่ประมวลผลเล็ก เช่น การเล่นเกมส์
Intel’s New hyper-Threaded Performance (P)
Intel Gen 12 มาพร้อมกับ ไฮเปอร์เทรดรุ่นใหม่ ที่มีค่า IPC ดีขึ้นราวๆ 19% จากรุ่นก่อน
อีกทั้งยังรองรับเทคโนโลยี Intel AVX-512 ที่ใช้ในการทำงานแบบ Multitasking ที่เคยมีใน CPU Intel แบบ Hi-End และรองรับ AMX (new AI-focused matrix-multiply ISA) AI การประมวลผลด้านคำนวนที่ฉลาดมากขึ้น แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จะได้คุณสมบัตินี้ทุกรุ่นหรือไม่
5. ชิปกราฟิครุ่นใหม่ Intel Xe LP และ UHD 770
นอกจากเรื่องของ CPU แล้ว Intel ยังมุ่งมั่นในเรื่องของ GPU เพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งการทุ่มงบวิจัยเพื่อทำการ์ดจอของตนเอง และการสร้างชิปกราฟฟิครุ่นใหม่มากมาย รวมถึงใน Intel Gen 12 นี้จะได้การอัพเกรดชิปกราฟฟิคภายใน CPU เสียที โดยครั้งนี้มาในชื่อรุ่น Intel UHD 770
สเปคพื้นฐานของ Intel UHD 770 นั้นน่าสนใจมากเลยทีเดียว โดยจะได้ shader Unit ที่ 256 Unit ค่าคล๊อกเริ่มต้นที่ 1450MHz
ในรุ่น Intel Core i5-12600K และรุ่นที่สูงกว่าก็จะได้สเปค GPU ที่แรงขึ้นด้วย โดยสูงสุดอยู่ที่ 1550MHz ในรุ่นของ Intel Core I9-12900K นั่นเอง

โดยประสิทธิภาพของมันค่อนข้างน่าสนใจมาก สำหรับ Intel UHD 770 นั้นค่อนข้างชัดเจนว่าแรงสูสีกับ การ์ดจอแยกอย่าง Nvidia GeForce 1030 เลยทีเดียว โดยที่เราไม่ต้องใส่การ์ดจอแยกให้เปลือง Slot ก็สามารถพอที่จะเล่นเกมถูไถไปได้ แต่สำหรับตลาด PC แล้วคงไม่สำคัญมากนัก เพราะใครๆก็ต้องนิยมใส่การ์ดจอแยกอยู่แล้ว ลองมาดูในตลาดโน๊ตบุคส์กันดีกว่า
Intel Alder Lake Xe LP Gen 12 เป็น GPU ในรุ่นของโน๊ตบุคส์ ที่มีค่า Shaders อยู่ราวๆ 768 Unit และมีค่าคล๊อกที่ 1.15GHz ซึ่งสเปคนั้นค่อนข้างน่าสนใจว่าจะแรงได้ราวๆ Nvidia Geforce GTX1050 การ์ดจอสำหรับคอร์เกมสายเริ่มต้นได้หรือไม่ ถ้าทำได้จะทำให้โน๊ตบุคส์มีประสิทธิภาพเล่นเกมโดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานสูงได้ดีเลยทีเดียว
6. เมนบอร์ด Socket ใหม่ รองรับ DDR5 Pci-E 5.0

นอกจาก CPU Intel Gen 12 จะมีความแรงและคอร์ที่เยอะเป็นพิเศษ เมนบอร์ดที่เปิดมาใหม่เองยังมี Socket ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมเล็กน้อย อัดแน่นไปด้วย Pin ทองแดงจำนวน 1700 Pin ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ Socket อีกครั้ง และไม่สามารถใช้ได้กับ CPU รุ่นเก่าๆ และ Heatsink เก่าๆ ได้ทันที แต่ Intel ก็ได้ออกแบบ Heatsink แถมรุ่นใหม่ให้ดูเข้มมากขึ้น ซึ่งโดยรวมก็แอบคล้ายๆกันกับรุ่นเก่าอยู่นะ
และสำหรับ CPU รุ่นใหม่ต้องรอลุ้นว่าจะต้องมีการเปลี่ยนเมนบอร์ดอีกหรือไม่ แต่ดูจากท่าที่แล้ว อาจจะใส่อัพเกรดรุ่นใหม่ได้กันยาวๆเลย
เพราะ Intel ได้อัพเกรดแรมเป็นแบบ DDR5 เรียบร้อย ซึ่ง DDR5 ก็เพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่นานนัก
>> อ่านสเปคของ DDR5 ทำให้คิดว่าการรองรับน่าจะรองรับได้อีกยาว
รวมถึง PCI-E 5.0 ที่แรงกว่า 4.0 ราวๆ 2 เท่า ในขณะที่ PCI-E 4.0 ยังไม่ทันแพร่หลายเลย PCI-E 5.0 ก็มาซะแล้ว จึงคิดว่าน่าจะเป็น Option สำหรับเมนบอร์ดรุ่นบนๆเท่านั้น สำหรับรุ่นกลาง-รุ่นประหยัด จะยังคงใช้ DDR4 และ PCI-E 4.0 กับ 3.0 อยู่ดั่งเดิม เพราะฉะนั้นไม่ต้องตกอกตกใจกันไป
รวมถึง Intel Wi-Fi 6E และ Thunderbolt 4 เป็นเรื่องที่ไม่น่าประหลาดใจนัก อย่าง Wi-Fi 6E เพราะในรุ่นก่อนหน้าก็มี
7. รุ่นที่เปิดตัวทั้งหมด และราคาคร่าวๆ
การเปิดตัว CPU ในครั้งนี้คล้ายๆดั่งเดิม คือเปิดตัวรุ่นยอดนิยมสำหรับคนรวยมาก่อน 3 รุ่น แล้วรุ่นประหยัดจึงค่อยๆงอกมา ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะมาทั้งหมดแล้วกี่รุ่น แต่เท่าที่เปิดตัว มีประมาณ 6 รุ่นด้วยกัน (ราคา ณ วันที่ เปิดตัว)
Intel Core i9 16C/24T
- i9-12900K ราคา 23,900 THB
- i9-12900KF ราคา 22,900 THB
Intel Core i7 12C/20T
- i7-12700K ราคา 16,900 THB
- i7-12700KF ราคา 15,900 THB
Intel Core i5 10C/16T
- i5-12600K ราคา 11,800 THB
- i5-12600KF ราคา 10,600 THB
ส่วนรุ่นอื่นๆที่คาดว่าจะออกมาให้รับชมในภายหลัง
- Intel Core i9-12900 , i9-12900F
- Intel Core i7-12700 , i7-12700F
- Intel Core i7-12700H (Notebook)
- Intel Core i5-12600 , i5-12600F
- Intel Core i5-12400 , i5-12400F
- Intel Core i5-12400H (Notebook)
- Intel Core i3-12300 , i3-12100 , i3-12100F
เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับ Intel Core Gen 12 นี้น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวเชียว อย่างไรก็ตาม เพื่อนๆสามารถเลือกซื้อ CPU Intel Gen 12 ได้ที่ร้านค้าชั้นนำ (แปะลิงค์ไว้ให้ในบทความถัดไป) หรือ สามารถเทียบเสปคกับ AMD Ryzen 5000 ในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจได้
อ่านเลย >> เทียบตัวต่อตัว Intel Gen 12 กับ AMD Ryzen 5000 พร้อมลิงค์สั่งซื้อทุกรุ่น
อย่าลืม!! เก็บโค้ดส่วนลดเพิ่มก่อนสั่งซื้อ >> ลิงค์เก็บโค้ด
หากชอบบทความของเรา สามารถให้กำลังใจได้ด้วยการ
กดไลค์ GagangTech และติดตามช่อง Youtube GagangTech
– แล้วไว้เจอกันใหม่ ในบทความหน้า สวัสดีครับ –