ไขข้อข้องใจ PCIe 5.0 ต่างกับ PCIe 4.0 อย่างไร มันดีจริงหรือแค่การตลาด

สามารถฟังบทความแทนการอ่านได้แล้วนะ! คลุมดำ ข้อความที่ต้องการฟัง เว็บไซต์ก็จะช่วยอ่านให้อัตโนมัติ! หากต้องการหยุดอ่านให้กดปุ่ม Stop และอย่าลืมกด Allow ก่อนด้วย!

หลังจากที่ Intel ได้เปิดตัว Intel Gen 12 ได้อย่างยิ่งใหญ่ 

ซึ่งมาพร้อมกับ Ram แบบ DDR5 และ PCIe 5.0 ชนิดที่ว่า อัพเกรดได้ข้ามหน้าข้ามตา AMD ไปได้อย่างมากเลย เพราะในด้านของ PCI-E 4.0 เอง AMD ก็เพิ่งออกมาได้ไม่นานนัก กับเมนบอร์ดรุ่น X570 และ B550 ที่สามารถใช้ได้ ซึ่งก็ถือว่ายังไม่แพร่หลายมากนัก นั่นจึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมาย ว่า PCI-E 5.0 มันดีและสำคัญกว่า PCI-E 4.0 มากแค่ไหน มันจำเป็นจริงๆหรือไม่ แล้วจะมาแทนที่ให้ PCI-E 4.0 ทำให้ PCI-E 4.0 นั้นมีอายุสั้นสุดๆเลยรึเปล่า

วันนี้ GagangTech จะมาตอบคำถามให้หมดทุกอย่างเลยล่ะครับ โพสนี้ จะเป็นโพสสุดท้ายเกี่ยวกับ PCI-E ที่รวบรวมสรุปให้หมดแล้ว

ซึ่งหากใครที่เคยอ่าน โพสเก่าของเรา เกี่ยวกับ PCI-E 4.0 แล้ว ก็น่าจะเข้าใจมากขึ้น แต่หากใครยังไม่อ่าน สามารถ >> กดลิงค์ย้อนอ่านได้ << หรือจะอ่านในโพสนี้ทีเดียวเลยก็ได้ครับ

1 - PCI-E สำคัญกับคอมพิวเตอร์อย่างไร?

PCI-E ย่อมาจาก Peripheral Component Interconnect Express เป็นช่องทางการรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ ผ่าน Interface แบบ Slot PCI-Express 

ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว PCI-E มักจะถูกเป็นช่องทางให้ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ต้องการการประมวลผลสูงๆ อย่าง การ์ดจอ เป็นต้น ซึ่ง PCI-Express นี้จะมี Bandwidth  ในการรองรับอุปกรณ์เหล่านี้เป็นจำนวนมาก

ซึ่ง Bandwidth (แบนด์วิท) นี้เอง คือความกว้างในการรับส่งข้อมูล ยิ่งมีขนาดมาก(ตัวเลขสูง) ก็จะทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

แบนด์วิทก็เปรียบเสมือนถนน ข้อมูลก็เปรียบเสมือนรถนั่นเอง

ซึ่ง PCI-Express ที่ติดตั้งอยู่ในเมนบอร์ด ก็ไม่ได้มีแค่จุดเดียว ในเมนบอร์ดขนาดมาตราฐาน มักจะมีหลากหลายจุด (Slot) ซึ่งการเชื่อมต่อแบบ PCI-Express นั้นจะมีแบนด์วิทที่กว้างใหญ่ แต่จะต้องแบ่งๆกันใช้ หากเรามี Slot เชื่อมต่อหลายๆจุด

ดังนั้นเราต้องคำนวน แบนด์วิทให้ดีๆ ก่อนที่จะใส่อุปกรณ์ลงไปหลายๆตัว เพื่อที่จะทำให้อุปกรณ์ของเราวิ่งได้เต็มสเปคนั่นเอง

แบนด์วิทที่เป็นเสมือนถนนกว้าง ก็จะต้องมีการแบ่งจำนวนเลนให้รถวิ่ง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อหลายๆจุด

ด้วยความที่มีหลาย Slot จึงต้องแบ่งการเชื่อมต่อเป็นจำนวนเลนต่างๆ โดย PCI-Express แต่ละ Slot จะมีการเชื่อมต่อที่มีจำนวนเลนแตกต่างกัน ยิ่งจำนวนเลนเยอะ ก็จะมีแบนด์วิทที่สูงตาม เริ่มจาก

  • PCI-Express x16 – มีจำนวนเลน 16 เลน

    นิยมใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ประเภทการ์ดจอ ที่ต้องการแบนด์วิทสูงๆ

  • PCI-Express x8 – มีจำนวนเลน 8 เลน

    ความเร็วจะลดจาก PCI-Express x16 จำนวนครึ่งหนึ่ง นิยมใช้สำหรับ การ์ดจอตัวที่สอง (กรณีติดตั้งแบบ Crossfire หรือ SLI หรือ NV-Link) ซึ่งปัจจุบันนิยมน้อยลงแล้ว เพราะให้ประสิทธิภาพไม่ดีกว่านัก หรือ อุปกรณ์ประเภท Hyper M.2 Card ที่เชื่อมต่อ SSD หลายๆตัว ลงใน การ์ด และเสียบลง PCI-E อีกที

  • PCI-Express x4 – มีจำนวนเลน 4 เลน

    ความเร็วจะลดลงจาก x8 ครึ่งหนึ่ง ในอดีต นิยมใช้มากสำหรับ Soundcard ,  Lan Card แต่ปัจจุบัน ทั้ง ชิปเสียงและชิปแลน มักจะติดตั้งมาในเมนบอร์ดเลย ทำให้ลดความนิยมลง บทบาทต่อมาก็คือ Capture Card สำหรับนัก Streamer นั่นเอง

    รวมถึงยังเป็นช่องทางสำหรับ รองรับแบนวิทด์จาก SSD แบบ M.2 NVMe ด้วยครับ

  • PCI-Express x1 – มีจำนวนเลน 1 เลน

    ปัจจุบัน จำนวน 1 เลนก็เพียงพอสำหรับการ์ดอื่นๆ เช่น การ์ด Wifi การ์ด Lan หรือ Sound Card สมัยใหม่ แล้วครับ

2 - PCI-E 5.0 อัพเกรดจาก PCI-E 4.0 อย่างไรบ้าง

  • PCIe 5.0 ไม่ได้มาเร็วไป แต่ เป็น PCIe 4.0 ที่มาช้าไปต่างหาก

แน่นอนว่าคำถามแรกเลยก็คือ ทำไม PCIe 5.0 ถึงได้เปิดตัวมาไล่เลี่ยกับ PCIe 4.0 มากๆเลย จะทำให้ PCIe 4.0 อายุสั้นรึเปล่า? 

คำตอบของคำถามนี้ก็คือ หลังจากปี 2010 ที่ PCI-e 3.0 ได้ถูกเปิดตัวขึ้นมา ซึ่งตามแผนของ PCI SIG ก็คือ อีก 7 ปี จะต้องเปิดตัว PCIe 4.0 ในปี 2017 และ อีก 2 ปีถัดจากนั้น จะเปิดตัว PCIe 5.0 ในปี 2019 นั่นเอง

ซึ่งทำไมในปี 2017 เราถึงยังไม่ได้ใช้ PCIe 4.0 กัน?

ย้อนกลับไปในปี 2017 การ์ดจอขาดตลาดในวิกฤติเหมืองครั้งที่สอง (ครั้งแรกในปี 2013) และตอนนั้น Intel ยังกุมบังเหียนตลาด CPU อยู่ และ AMD กำลังขลุกขลิกล้มลุกคุกคลาน ซึ่ง CEO คนเก่าของ Intel ในตอนนั้นก็รู้ๆกันอยู่ว่ากั๊กจนนาทีสุดท้าย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปล่อยให้ CPU ของตนเองรองรัง PCIe 4.0 (จนกว่าจะกั๊กจนพอใจ) จึงทำให้ PCIe 4.0 นั้นไม่ได้เกิดขึ้นมา

CEO Intel คนเก่า เคยกล่าวว่า PCIe 4.0 ยังไม่สำคัญ เพราะ PCIe 3.0 ยังมีแบนวิทด์เหลือเฟืออยู่

จนเมื่อ AMD ได้ให้บทเรียน Intel ครั้งใหญ่ และนำ PCIe 4.0 เข้ามาในปี 2019 จนได้ (ซึ่งถ้า AMD ไม่ทำ Intel ก็คงไม่คิดจะทำ ป่านนี้ก็ยังคงเป็น 3.0 อยู่วันยังค่ำ) และถึงแม้ว่า PCIe 4.0 จะยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่ก็ทำให้ Intel ต้องเริ่มเกมตามด้วยการเปิดตัว PCIe 5.0 มาขี่ AMD จนได้นั่นเอง

สรุปแล้ว Intel คือผู้ที่ทำให้เทคโนโลยี PCI-E ล่าช้าไป  2 ปี

และในขณะเดียวกัน AMD ก็เป็นผู้ทำให้เทคโนโลยี PCI-E กลับมาเดินตามแพลนให้ได้มากที่สุด

  • PCIe 5.0 มี Bandwidth เพิ่มขึ้นจาก PCI-e 4.0 เท่า และมากกว่า PCI-E 3.0 4 เท่า!! 

หากคนที่เคยอ่านบทความเก่าเราเรื่องของ PCIe 4.0 ที่ถูกอัพเกรดแล้ว คงจะเดาได้ไม่ยากว่า PCIe 5.0 เองก็คงจะถูกอัพเกรดเรื่องอะไร นั่นก็คือเรื่องของแบนวิทด์นั่นเอง

เดิมทีแบนวิทด์ของ PCIe 4.0 ก็จัดว่าค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว โดยมีแบนวิดท์อยู่ที่ 16GT/s หรือ 64GB/s ซึ่งมากกว่า PCIe 3.0 อยู่ราวๆ  เท่า (PCI-E 3.0 อยู่ที่ 8GT/s หรือ 32GB/s) และ PCIe 5.0 เองก็อัพเกรดให้เยอะกว่า PCIe 4.0 ราวๆ เท่าเช่นกัน

ทำให้ PCIe 5.0 มีแบนวิทด์อยู่ที่ 32GT/s หรือราวๆ 128 GB/s เลยทีเดียว!!

ซึ่งธรรมดาความเร็วของ PCIe 3.0 นั้นก็จัดว่าเร็วแบบที่เหลือเฟือแล้ว และ PCIe 4.0 ก็ยังเร็วเกินไปที่จะแพร่หลายให้คนเราได้ใช้กันด้วยซ้ำ การที่ Intel ได้นำ PCIe 5.0 ที่มีแบนวิทด์มหาศาลมาขี่ AMD แบบนี้ นับว่าเป็นผลดีต่อผู้ใช้เลยก็ว่าได้ เพราะทำให้ AMD เองต้องนำ PCIe 5.0 มาเป็นมาตราฐานใหม่เช่นกัน ซึ่งคราวนี้ เราอาจจะได้เห็นการพัฒนาของอุปกรณ์ต่างๆ อย่างก้าวกระโดดก็เป็นได้

  • PCIe 5.0 จะทำให้การ์ดจอแรงสูงกว่าเดิมแบบก้าวกระโดด

PCIe 5.0 ในโหมด x16 สามารถให้แบนวิทด์ได้มากมายถึง 128GB/s นั่นหมายความว่า การ์ดจอสามารถวิ่งได้สูงสุดขึ้นกว่าเดิมอีกราวๆ  เท่าจากมาตราฐานเดิม (ซึ่งก็ยังเพียงพอ) และ สี่เท่า กับการ์ดจอรุ่นเก่าๆ นั่นทำให้การ์ดจอรุ่นต่อไปของทั้ง Nvida และ AMD จะต้องเข็นตัวโหดขึ้นมาให้สมน้ำสมเนื้อกับมาตราฐานใหม่นี้อย่างแน่นอน

  • PCIe 5.0 จะทำให้การเชื่อมต่อเลี้ยง PCI-E เล็กลงและรับ Power ได้มากขึ้น

นอกจาก แบนวิทด์ที่เป็นแรงขับเคลื่อนของ PCIe 5.0 จะมหาศาล การรองรับการจ่ายไฟให้การ์ดจอที่สูงสุดถึง 600W โดยใช้เพียง สาย PCI-E Power 1VHPWR แบบ 8 pin และ 1 pin ที่มาในไซส์ Mini ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด ทำให้ลดพื้นที่จัดสายไฟ เพิ่มประสิทธิภาพให้การ์ดจอ โดยอัตราการจ่ายไฟนั้นมากกว่ารุ่นสูงสุดของรุ่นเดิมราวๆ 1.6 เท่าเลยทีเดียว (รุ่นสูงสุดของรุ่นเดิม คือ RTX3090 ที่ซดไฟสูงสุด 350W)

  • PCIe 5.0 จะไม่มาแทนที่ PCIe 4.0 โดยเร็วนี้

CPU Intel Gen 12 ทุกรุ่น ในตอนนี้ จะรองรับ PCIe 5.0 Controller อย่างแน่นอน

แต่เป็นข่าวไม่ดีนัก ที่ PCIe 5.0 อาจจะยังไม่มาครบทุกรุ่นในเมนบอร์ด โดยเมนบอร์ดที่มี PCIe 5.0 เป็นหลัก นั้นได้แก่ เมนบอร์ดที่ใช้ Chipset Intel Z690 เท่านั้น และจะรองรับในโหมด x16 และ x8 รวมถึง x4 สำหรับ SSD แบบ M.2 NVMe ในบางเมนบอร์ดเท่านั้น

โดยเมนบอร์ดรุ่นที่ต่ำกว่านี้ จะได้ใช้เป็น PCIe 4.0 เป็นหลักและ PCIe 3.0 เป็นรองแทน และ เมนบอร์ด Z690 นั้นราคาก็ค่อนข้างเอาเรื่องเลยทีเดียว ซึ่งอุปกรณ์ที่รองรับ PCIe 5.0 เองก็ยังดูเงียบๆอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดว่าคุ้มหรือไม่ที่จะอัพเกรดไปใช้

3 - DMI Link สำคัญอย่างไร? การอัพเกรดช่วยอะไรได้บ้าง

เมื่อก่อนเก่านั้น การเชื่อมต่อ Storage ส่วนใหญ่ นิยมใช้พอร์ต SATA ในการเชื่อมต่อ ทั้ง HDD และ SSD ซึ่งจะใช้ Interface การเชื่อมต่อแบบ Serial ATA 3.0 หรือ SATA 3.0 ที่ให้แบนวิทด์ได้สูงสุดเพียง 600 MB/s เท่านั้น

และที่เลวร้ายไปกว่านั้น HDD ที่เราใช้ๆกัน สามารถอ่านเขียนได้สูงสุดเพียง 140 MB/s ซึ่งยังไม่ได้ถึงครึ่ง Bandwidth ของ Interface SATA 3.0 เลย จัดว่าเป็นอุปกรณ์ช้าที่สุดในคอมพิวเตอร์ในตอนนี้เลย!

ถึงแม้ว่า SSD แบบ SATA จะให้ความเร็วที่มากกว่า HDD ราวๆ เกือบ 5 เท่าตัวเลยก็ตาม (SSD SATA 3.0 ให้ความเร็วอ่านเขียนราวๆ 550 MB/s) และมองด้วยตาเปล่านั้นค่อนข้างเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่เพราะกำแพงเรื่อง แบนวิทด์สูงสุดของ Interface แบบ SATA 3.0 ที่สูงสุดได้ 600 MB/s นั้นทำให้เป็นข้อจำกัดในด้านการพัฒนาด้านความเร็วของ SSD 

รวมถึงการต้องการพัฒนา SSD ให้มีขนาดที่เล็กลง จึงเป็นที่มาของ SSD แบบ M.2 SATA ที่มีขนาดเล็กกว่า SSD แบบกล่อง 2.5 นิ้วนั่นเอง

เทคโนโลยี DMI-Link (Direct Media Interface Link) คือเทคโนโลยีร่วมที่ถูกนำมาใช้ ในการเชื่อมต่อแบบ M.2 PCI-E NVMe เพื่อัพเกรดให้ SSD M.2 สามารถเชื่อมต่อตรงกับเลน PCI-E ได้ โดยไม่ต้องผ่าน Interface แบบ SATA อีกต่อไป ทำให้การเปลี่ยน Interface จาก SATA เป็น PCI-E NVMe นั้นทำให้ SSD ในทุกวันนี้ แรงทะลุนรกไปนั่นเอง!

โดยเจ้า DMI Link นี้จะขึ้นตรงกับ Generation ของ PCI-E และความเร็วของ SSD เองก็จะขึ้นตรงกับ ความเร็วของ DMI Link นี้ด้วย เพราะฉะนั้น ความเร็วของ SSD จึงไม่สามารถสูงไปกว่าแบนวิทด์ของ PCI-E x4 (จำนวน 4 เลน) เพราะ DMI Link ที่ทำงานบน PCI-E x4 ไงล่ะครับ

เมื่อมีการอัพเกรด PCI-E เป็นรุ่นใหม่ เช่น PCIe 3.0 ไป PCIe 4.0 หรือ PCIe 4.0 ไป PCIe 5.0 ตัว DMI Link ก็จะถูกอัพเกรดด้วย โดย

PCIe 3.0 จะมาพร้อม DMI Link 3.0

PCIe 4.0 จะมาพร้อม DMI Hyper Link 4.0 

ส่วนในด้านของ PCIe 5.0 ทางเว็บไซต์กำลังรวบรวมข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับ DMI Link รุ่นใหม่อยู่ให้เร็วๆนี้ครับ

4 - เทียบความเร็ว PCI-E ทั้งสามรุ่น ว่าเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่??

สำหรับพิเศษในโพสนี้ แอดจะเทียบความเร็วในแบบต่างๆของ PCI-E ทั้งสามรุ่น เพื่อคลายข้อข้องใจเสียที ว่า PCI-E ที่เราใช้ๆกันในปัจจุบัน มันเพียงพอหรือไม่!  โดยก่อนที่เราจะไปดูความเร็ว เราต้องทราบเกี่ยวกับอัตราตัวเลขต่างๆกันก่อนครับ

  • GT/s ย่อมาจาก Gigatransfer Per Sec ตัวเลขนี้จะใช้บ่งบอกเสปคของ PCI-E ในรุ่นต่างๆ โดยอ้างอิงจาก ความเร็วใน 1 เลนนั่นเอง อยากรู้ความเร็วของกี่เลน ก็คูณไปครับ

  •  MB/s ย่อมากจาก Megabytes Per Sec ตัวเลขนี้จะใช้บ่งบอกความเร็วการถ่ายโอนข้อมูลใน Megabytes ใน 1 วินาที สามารถแปลงเป็น GB/s ได้เบื้องต้น ง่ายๆ ด้วยการ หาร 1000 สามารถใช้ดูสเปคความเร็วการอ่านเขียนข้อมูลของ SSD ได้

  • Gbps ย่อมาจาก Gigabits Per Sec (บิต) เป็นตัวเลขที่บ่งบอกค่าของแบนวิทด์ที่สามารถให้ได้ ซึ่งจะแตกต่างกันกับ GB/s (ไบท์) ที่เป็นความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูล โดย Gbps มักจะถูกบ่งบอกในสเปคของการ์ดจอ หรือความเร็วอินเทอร์เน็ต ซึ่งเราสามารถหาค่าได้ ด้วยการนำ GB/s มาคูณ 8 หรือ นำ Gbps ไปหาร 8 เพราะ 1 ไบท์ = 8 บิต นั่นเอง

คนมักเข้าใจผิด ว่า อินเทอร์เน็ตความเร็ว 10 mbps หมายความว่า มันต้องเร็ว 10 MB/s ถึงบ่นกันทำไม 10 mbps ดาวน์โหลดข้อมูลช้าจัง! ก็ลองคำนวนดูสิครับ 

10 mbps ได้ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล แค่ 1.25 mb/s เองนะ!

 

PCI-Express Comparison (ค่าประมาณ)

PCI-E 3.0

เมนบอร์ดที่รองรับ
เมนบอร์ด รุ่น
– AMD X570 , B550
– Intel Z590 , B560
– AMD X470 หรือต่ำกว่า
– Intel Z490 หรือต่ำกว่า

1 lanes (x1)

  • 8 GT/s
  • 985 MB/s หรือ 0.96 GB/s
  • 7.87 Gbps
  • Sound Card
    Lan Card
    Other

4 lanes (x4)

  • 32 GT/s
  • 3,940 MB/s หรือ 3.94 GB/s
  • 31.50 Gbps
  • DMI Link 3.0 สำหรับ
    SSD M.2 NVMe 3.0 สเปคสูงสุด 1 ตัว หรือ SSD M.2 MVMe 3.0 สเปคกลางๆ 2 ตัว

8 lanes (x8)

  • 64 GT/s
  • 7,880 MB/s หรือ 7.88 GB/s
  • 63.01 Gbps
  • VGA Card NO.2 , SSD แบบ PCI-e 

16 lanes (x16)

  • 128 GT/s
  • 15,760 MB/s หรือ 15.8 GB/s
  • 126.03 Gbps
  • VGA Card

PCI-E 4.0

เมนบอร์ดที่รองรับ
เมนบอร์ด รุ่น 
– AMD X570 , B550
– Intel Z590 , B560
– Intel Z690 , B660


1 lanes (x1)

  • 16 GT/s
  • 1,970 MB/s หรือ 1.96 GB/s
  • 15.75 Gbps
  • แค่ x1 ก็ใส่ SSD รุ่นต่ำๆของ PCI-e 3.0 ได้ 1 ตัวแล้ว

4 lanes (x4)

  • 64 GT/s
  • 7,880 MB/s หรือ 7.88 GB/s
  • 63.01 Gbps
  • DMI Link 4.0 สำหรับ
    SSD M.2 NVMe 4.0 สเปคสูงสุด 1 ตัว
    หรือ SSD M.2 NVMe 3.0 สเปคสูงสุด 2 ตัว

8 lanes (x8)

  • 128 GT/s
  • 15,760 MB/s หรือ 15.8 GB/s
  • 126.03 Gbps
  • VGA Card NO.2 , SSD แบบ PCI-e 

16 lanes (x16)

  • 256 GT/s
  • 32,768 MB/s หรือ 31.5 GB/s
  • 256.061 Gbps
  • VGA Card

PCI-E 5.0

เมนบอร์ดที่รองรับ
เมนบอร์ด รุ่น
– Intel Z690




1 lanes (x1)

  • 32 GT/s
  • 3,940 MB/s หรือ 3.94 GB/s
  • 31.50 Gbps
  • แค่เลนเดียว ก็ใส่ SSD NVMe 3.0 ตัวแรงๆได้ 1 ตัวแล้ว

4 lanes (x4)

  • 128 GT/s
  • 15,760 MB/s หรือ 15.8 GB/s
  • 126.03 Gbps
  • DMI Link 5.0 สำหรับ SSD M.2 NVME ความเร็วสูงสุด 15GB/s (ยังไม่มีขาย)

8 lanes (x8)

  • 256 GT/s
  • 32,768 MB/s หรือ 31.5 GB/s
  • 256.061 Gbps
  • Card Hyper M.2 สำหรับเพิ่ม SSD ได้อีกหลายๆ ตัว

16 lanes (x16)

  • 512 GT/s
  • 65,536 MB/s หรือ 63.0 GB/s
  • 504.12 Gbps
  • VGA Card ในอนาคต

5 - เรื่องที่ควรรู้ก่อนอัพเกรดไปใช้ PCI-E 5.0

  • เมนบอร์ด PCIe 5.0 ราคาไม่ธรรมดา!

เมนบอร์ด PCIe 5.0 นั้นเพิ่งเปิดตัวออกมา และส่วนใหญ่ทำงานร่วมกันกับ Chipset Intel Z690 ซึ่งราคาก็ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว รวมถึงส่วนมาก ต้องทำงานร่วมกันกับ DDR5 Ram ซึ่งมีราคาแพงมากและขาดตลาดอีกด้วย คงต้องลุ้นกันว่า ชิปเซ็ท Intel B660 ราคาที่ประหยัดลงมา จะสามารถใช้ PCIe 5.0 ได้หรือไม่

  • การ์ดจอ PCIe 5.0 ยังไม่มีวี่แววจะออกมา!

คงน่าสนใจไม่น้อยหาก การ์ดจอเทพๆที่จะสามารถวิ่งด้วยแบนวิท์ของ PCI-E 5.0 x16 ได้อย่างเต็มเหนี่ยวล่ะก็มันคงจะน่าดูชม แต่ต้องดับฝันไว้ตรงนี้ เพราะในปัจจุบัน การ์ดจอนั้นก็รู้กันอยู่ว่าชิปมันขาดตลาดมากเพียงใด ลำพัง รุ่นปัจจุบันอย่าง Nvidia RTX3000 และ RX6000 ก็ยังไม่สามารถหาได้ง่าย (เพราะ พรี่รับมาแพง!) จน Nvidia ต้องนำ RTX2060 รุ่นเก่า มารีสต๊อคขายกันใหม่ ซึ่งก็เห็นกันแล้วว่า แนวโน้มรุ่นใหม่นั้นยังเงียบฉี่เลย แล้วเราจะซื้อ PCI-e 5.0 มาทำไมกัน!

  • เช่นกัน SSD PCIe 5.0 ก็ยังไม่มีวางขาย!

นอกจากการ์ดจอแล้ว SSD แบบ PCIe 5.0 เองก็ยังไม่มีวางขาย ซึ่งในด้านสเปคนั้นมันเทพมากไม่เถียง แต่ SSD PCIe 3.0 และ 4.0 ก็ถือว่าแรงมากๆ สำหรับปัจจุบันแล้ว และอีกทั้งยังราคาไม่ถูกอีกด้วย เพราะฉะนั้น ประโยชน์เดียวของ PCIe 5.0 ก็คงจะเป็น การที่ใส่ SSD 3.0 และ 4.0 ได้หลายๆตัวนั่นเอง (เอาจริง 3 ตัวก็เหลือใช้แล้วครับคุณณ)

  • PCIe 4.0 และ 3.0 ยังถูกใส่มาอยู่ดี

ถึงแม้ว่า PCIe 5.0 จะมีใน Z690 แล้ว แต่ส่วนใหญ่ ก็ยังต้องทำงานร่วมกันกับ PCIe 4.0 อยู่ดี โดยแยกกันชัดเจน ใน Mode X16 จะทำงานด้วย PCIe 5.0 และ SSD จะถูกติดตั้งใน PCIe 4.0 ซึ่งตรงนี้เราต้องดูสเปคให้ดี ไม่ใช่ทุกเมนบอร์ดที่จะมี PCIe 5.0 สำหรับ M.2 มาให้ หรือในบางเมนบอร์ด ยังคงทำงานร่วมกันกับ PCIe 3.0 อีกด้วย (อุปกรณ์ PCIe 5.0 ก็ยังไม่มี ซ้ำ บางบอร์ดยังต้องมาทำงานกับ PCIe 3.0 เหมือนเดิม แล้วจะซื้อทำไมล่ะคร้าบ)

สรุป PCI-E 5.0 ควรอัพเกรดหรือไม่

หากต้องการอัพเมนบอร์ดเพื่อไปใช้ PCI-E 5.0 ล่ะก็ แอดขอบอกตรงนี้ว่า ยังไม่คุ้มค่าเสียเท่าไหร่ แต่หากต้องการอัพเพื่อใช้ Intel Core Gen 12 หรือ DDR5 ก็ไม่ว่ากัน แต่สำหรับแอดแล้ว แอดคิดว่า รอให้ AMD มี Action อะไรออกมาก่อน  จนถึงในช่วงเวลาที่ ชิปต่างๆ กลับมามีวางขายในราคาปกติ น่าจะคุ้มค่าที่สุดครับ

สำหรับตอนนี้ กอดการ์ดจอตัวเก่า กับ SSD แรงๆ สักสองตัว ใน PCI-E 4.0 และ แรม DDR4 บัสสูงๆ กับ CPU Intel Gen 12 (ที่ใช้กับ DDR4) หรือ Ryzen 5000 ตัวเทพๆ  ก็เหลือเฟือไปได้อีกยาวไกลเลยล่ะครับ!

เรื่องที่คุณอาจจะสนใจ

รีวิว!! Asus expertbook b1500 โน๊ตบุคส์พกพาออฟฟิศสายชิว งานดี มีคุณภาพ!

เจาะลึก!! เมนบอร์ด Intel Gen 12 รุ่นใหม่ล่าสุด!! ในรหัส Z690 คราวนี้จัดเต็มกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา กำเงินแล้วจ่ายไปให้มันจบ!

เจาะลึก!! CPU Intel Gen 12 ทุกรายละเอียด วันนี้! ลืมความเป็น Intel แบบเก่าๆ ได้เลย

 

หากชอบบทความของเรา สามารถให้กำลังใจได้ด้วยการ

 กดไลค์ GagangTech และติดตามช่อง Youtube GagangTech

– แล้วไว้เจอกันใหม่ ในบทความหน้า สวัสดีครับ –

ติดตามพวกเราได้ที่

Website

Facebook

Youtube

Facebook Comments Box
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.